ตลาด Crypto นั้นกำลังร้อนแรงมากอย่างไม่ต้องสงสัย นักลงทุนและนักเทรดมากมายได้เข้ามาในตลาดนี้ แต่คนส่วนมากนั้นรู้กันรึเปล่าว่ากำลังลงทุนกับอะไรอยู่?
สำหรับคอยน์แมนแล้ว การลงทุนในตลาด Crypto นั้นคือการลงทุนในเทคโนโลยี “บล็อคเชน” ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกของเราได้ ไม่ต่างกับที่ Internet เคยได้ทำมาแล้ว
ปัญหาก็คือ คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า “บล็อคเชน = บิทคอยน์หรืิอสกุลเงินดิจิตอลอื่นๆ” และอ้างว่ามันไม่ใช่การลงทุนที่แท้จริง เพราะว่าเงินดิจิตอลเหล่านี้ มันไม่ได้มีค่าในตัว และ demand ของมันนั้นมาจากการเก็งกำไรล้วนๆ
ความเข้าใจนี้อาจจะจริงถ้าเราย้อนไปปีก่อนๆ ที่ use case หลักๆของบล็อคเชนนั้นคือสกุลเงินดิจิตอล แต่ในปัจจุบัน บล็อคเชนได้พัฒนาไปไกลกว่าเดิมมาก การลงทุนในบล็อคเชนจึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่การเก็งกำไรอีกต่อไป เฉกเช่นเดียวกับ demand ในตลาด Crypto ในตอนนี้ก็เริ่มจะเปลี่ยนจาก speculative demand เป็น real demand ที่เกิดจากการใช้บล็อคเชนในเชิงธุรกิจ
เรามาดูพัฒนาการของบล็อคเชนเทคโนโลยีในแต่ละขั้นกันครับ
Blockchain 1.0 – Currency
Use case อย่างแรกที่ถูกนำมาใช้สำหรับบล็อคเชนก็คือ “สกุลเงิน” ซึ่งเราได้เห็นกันแล้วในปี 2008 กับกำเนิดบิทคอยน์
ตามหลักการแล้ว ตัวบล็อคเชนนั้นเปรียบเสมือนฐานข้อมูลแบบกระจาย ที่ทุกคนมีก๊อปปี้เดียวกัน และทุกคนช่วยกันตรวจสอบ ทำให้ไม่มีใครสามารถสร้างข้อมูลเทียมที่ต่างไปจากคนอื่นได้ (โดยที่ไม่มีใครตรวจเจอ)
ผลก็คือ เราสามารถสร้างสกุลเงินที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางเก็บข้อมูล สกุลเงินที่มีความโปร่งใส และน่าเชื่อถือมากกว่าสกุลเงินรัฐบาลอีกด้วย
มันก็ไม่แปลกเลยที่บิทคอยน์นั้นจะมาเป็นตัวอย่างแรกของเทคโนโลยีบล็อคเชนในยุค 1.0 ซึ่งทำหน้าที่หลักๆเพียงอย่างเดียวคือเป็นที่เก็บมูลค่าเหมือนสกุลเงินทั่วไป (นอกจากบิทคอยน์แล้ว ก็ยังมีเหรียญอื่นๆมากมายที่สร้างมาเป็นสกุลเงินที่คุณลักษณะไม่ต่างกันมาก)
ในยุคนี้ Demand is speculative
Blockchain 2.0 – Smart Contract
และแล้วเทคโนโลยีบล็อคเชนก็มาถึงยุค 2.0 เมื่อปี 2014 (กำเนิดEthereum) นี่เป็นยุคที่บล็อคเชนพัฒนาความสามารถในการเขียนโปรแกรมหรือที่เรียกกันว่า Smart Contract บนบล็อคเชนได้
พวกเราน่าจะคุ้นเคยกับคำว่า Smart Contract ไม่ว่าจะมาจาก Ethereum NEO Stratis หรือแพลทฟอร์มอื่นๆ ซึ่ง Smart Contract นั้นเป็น “Protocol” ที่ถูกสร้างขึ้นมาบนบล็อคเชน ที่ทำให้เราสามารถบังคับใช้งานสิ่งที่เรากำหนดไว้ใน contract ได้อัตโนมัติ เมื่อเวลาเงื่อนไขตรงตามที่ตกลงไว้
ในโลกปัจจุบันนั้น มนุษย์เราเองต้องบังคับใช้ contract เหล่านี้เอง หรือเราจำเป็นต้องมีกลุ่มคนที่เป็นตัวกลางที่เข้ามาดูแล ควบคุม และรับผิดชอบในการบังคับใช้ เช่นกฎหมาย กฎบริษัท สัญญาจ้าง และอื่นๆอีกมาก
กลับกัน การใช้ smart contract บนบล็อคเชนนั้นหมายความว่า contract จะถูกบังคับใช้ทันที โดยที่เราไม่ต้องพึ่งตัวกลางใดๆ ตามหลักเดียวกันการที่ทุกคนช่วยกันตรวจสอบฐานข้อมูล ในที่นี้ทุกคนสามารถช่วยตรวจสอบเงื่อนไขและ process contract นี้ได้อัตโนมัติ
ผลก็คือ ใน Blockchain 2.0 นั้น เราได้ก้าวจากสกุลเงินที่ไม่มีตัวกลางควบคุมและไม่ต้องกลัวใครโกงกัน มาเป็น Smart Contract บนบล็อคเชน ที่ไม่มีตัวกลางควบคุมและไม่ต้องกลัวใครไม่ทำตามเงื่อนไข
มากไปกว่านั้น เรายังสามารถใช้แพลทฟอร์มเหล่านี้สร้างแอปที่เรียกว่า Dapp หรือ Decentralized Application ซึ่งพูดง่ายๆว่าแอปนั้นไม่ได้รันจากเซิฟเวอร์กลางที่ใดที่หนึ่ง แอปที่รันอยู่ตลอดเวลาไม่มีวันปิด ตราบใดที่ยังมีใครคนใดคนนึงบนโลกช่วยรันมัน
นี่คือเหตุผลที่เหรียญที่มีความสามารถในการทำ Smart Contract เช่น Etheruem หรือ NEO ถึงมีอัตราการเติบโตในระยะสั้นที่สูงกว่าเหรียญที่เป็นเพียงสกุลเงินดิจิตอลธรรมดาหลายเท่า เพราะนักลงทุนมองเห็นศักยภาพของเหรียญที่ทำหน้าที่เป็น platform สำหรับสร้างแอปได้ในอนาคต
โดยสรุปในยุค Blockchain 2.0 บล็อคเชนเทคโนโลยีไม่ได้เพียงเป็นเพียงเงินดิจิตอลต่อไป แต่มันกลายมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการสร้าง Decentralized Application อย่างไรก็ตาม มันยังไม่มีการเอาบล็อคเชนมาใช้ในเชิงธุรกิจอย่างแท้จริง
ในยุคนี้ Demand is still speculative but the transformation is emerging
Blockchain 3.0 – Dapp
หลังจากที่การพัฒนา Smart Contract เริ่มสุกงอมในปี 2017 เทคโนโลยีบล็อคเชนได้ก้าวเข้าสู่ยุค 3.0 ซึ่งเป็นยุคของ Dapp หรือ Decentralized application ที่ถือเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดเลยก็ว่าได้ เพราะว่ามันเป็นการเปิดประตูไปสู่อุตสหกรรมอื่นๆอีกมากมาย โดยผู้ประกอบการสามารถนำ smart contract มาสร้างแอปที่แก้ปัญหาในชีวิตจริงและ disrupt ธุรกิจโมเดลเดิมๆ จากรูปข้างล่างนี่คือตัวอย่างของสิ่งที่บล็อคเชนจะมา disrupt ได้ครับ
คอยน์แมนจะมายกตัวอย่างสั้นๆว่า real demand มันเกิดขึ้นได้อย่างไรจากโปรเจคที่น่าสนใจกันนะครับ
- Civic – Identity Verification & Management
Civic เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการยืนยันตัวตนเวลาเราสมัครเวปไซท์ต่างๆ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ Username Password (ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการแฮคส่วนมาก) ให้ข้อมูลซ้ำๆ (เช่นที่เราต้องมานั่งกรอก ชื่อ ที่อยู่ อัพโหลดรูป เพื่อยืนยันตัวตนในเวป Exchange ทั้งหลาย) และสามารถควบคุมได้ว่าใครสามารถเข้าถึงข้อมูลเราได้บ้าง
ลองคิดดูว่าวิธีการระบุตัวตนที่มีประสิทธิภาพกว่า สะดวกสบายกับผู้ใช้กว่า หลีกเลี่ยงการโจรกรรมข้อมูลออนไลน์ได้ดีกว่า และราคาถูกกว่าแบบนี้ จะมีมูลค่ามหาศาลขนาดไหนเมื่อเวปต่างๆเริ่มนำระบบนี้มาใช้บริการลูกค้า ซึ่งหมายความว่าเหรียญ CVC จะถูกนำไปใช้งานในระบบจริงๆ ผลก็คือ real demand ในที่นี้จะทำให้มูลค่าเหรียญ Civic เพิ่มขึ้นนั้นเอง
- Po.et – Proof of Creative Asset Ownership
Po.et เข้ามาแก้ปัญหาการลอกเลี่ยนแบบหรือขโมย content ต่างๆ เช่นรูปภาพ บทความ งานอาร์ท และอื่นๆอีกมากมาย โดยให้เจ้าของ content สร้างหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของบนบล็อคเชน
การทำเช่นนี้จะทำให้เราสามารถโชว์ได้ว่านี่เป็นผลงานของเราจริงๆ ไม่ว่าจะใช้ในการส่งงาน freelancing (จะได้รู้ว่าเราไม่ได้ไปก๊อปปี้ใครมาให้) ใช้สมัครงาน หรือใช้ปกป้องผลงานตัวเองเผื่อใครเอาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติ และในขณะเดียวกัน คนที่สนใจผลงานยังสามารถติดต่อซื้อโดยตรงจากผู้สร้างได้อีกด้วย
สิ่งเหล่านี้เรียกได้ว่าเป็น real demand ที่จะทำให้คนใช้งาน Po.et มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เหรียญมีมูลค่ามากขึ้นตามนั้นเอง
ในยุคนี้ Demand is transforming from speculative to real demand!
ทิ้งท้าย
โดยสรุปแล้ว ตอนนี้เราได้เริ่มเข้ามาอยู่ในยุค Blockchain 3.0 ซึ่งเราได้เห็นการนำบล็อคเชนมาใช้ในเชิงธุรกิจอย่างจริงจัง ถึงแม้ว่าจะอยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีที่วงการต่างๆเริ่มเปิดรับเทคโนโลยีใหม่นี้
คอยน์แมนเชื่อมั่นเป็นอย่างมากว่าเทคโนโลยีบล็อคเชนจะมีผลกระทบซึ่งจะสั่นสะเทือนไปเกือบทุกวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้
อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกคนลงทุนอย่างระมัดระวังนะครับ
อย่าลงเงินมากกว่าที่ตัวเองกล้าที่จะเสียได้นะครับ
ติดตามบทความใหม่ๆได้ทางเพจคอยน์แมนครับ
https://www.facebook.com/coinmanth/