ข้อมูล ICO
Hard cap: $24m
Presale (Round B): 7 พฤษภาคม 2018
- Pre-sale ขั้นต่ำ: 100 ETH
- Pre-sale Bonus: 10%
- ราคาต่อ ETH จะล็อคในวัน Pre-sale
Crowdsale: เริ่มหลังจาก Presale Round B จบ (แต่ยังไม่บอกวันที่แน่ชัด)
Whitelist/KYC: 22 เมษายน 7 a.m. UTC
- บ่าย 2 เวลาไทย
- จำกัด 3,000 คน
- Whitelist นี้สำหรับทั้ง Presale Round B และ Crowdsale นะครับ
Website: https://Edenchain.io
**เหรียญจะค่อยๆถูกปล่อยออกมาเป็นเวลา 5 เดือนเดือนละ 20% (เริ่มปล่อยหลังเข้า exchange หลักๆได้)
ภาพรวมของโปรเจค
เราอาจจะเห็นว่าช่วงนี้โปรเจคประเภท Infrastructure หรือ Smart contract platform มีมากเหลือเกิน โดยที่ส่วนมากนั้นจะโฟกัสไปที่การแก้ปัญหา scaling
ซึ่งมองเผินๆคนอาจจะคิดว่า EdenChain มันก็ไม่ต่างกับโปรเจค Infrastruture อื่นๆ แต่ในความเห็นของคอยน์แมนแล้ว EdenChain นั้นเป็นโปรเจคที่มี Positioning จุดยืนในตลาดเฉพาะตัวที่ดีและแตกต่างจากตัวอื่นอยู่มากทีเดียว โดยเป้าหมายหลักของ EdenChain นั้นคือการสร้าง Blockchain ที่ตอบโจทย์กับทาง Enterprise โดยเน้นที่ด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเป็นหลัก
หลักๆแล้ว EdenChain จะประกอบไปด้วย 3 layers ด้วยกัน
- Distributed Ledger Layer ซึ่งจะเป็นตัวเก็บข้อมูล Transaction ต่างๆ โดย Layer นี้ EdenChain เลือกใช้ Hyperledger Sawtooth
- Validation Layer นั้นมีไว้สำหรับตรวจสอบ Transaction และรัน Smart Contract ซึ่ง EdenChain ได้เลือกใช้ PoET (ถ้าไม่ผ่าน Validation Layer ข้อมูลก็จะไม่ผ่านไปที่ Distributed Ledger Layer )
- Bridge Layer นั้นมีไว้สำหรับดึงข้อมูลที่จะใช้เพื่อรัน Smart Contract ไม่ว่าจะข้อมูลที่อยู่บนบล็อคเชนอยู่แล้ว หรือข้อมูลจากภายนอก
เหรียญทำอะไรได้?
ทางทีมงานยังไม่มีรายละเอียดเรื่อง Token Economic ออกมาอย่างเป็นทางการ แต่หลักๆแล้วเหรียญจะให้สำหรับ Transaction fee, เป็นเงินในระบบ, ไว้ลง ICO, ไว้ทำ Masternode และอื่นๆอีกซึ่งทางทีมงานจะบอกในภายหลัง
จุดเด่นของ EdenChain
Permissioned Blockchain
Public Blockchain เช่น Bitcoin หรือ Ethereum นั้นจะเปิดให้ทุกคนสามารถเข้ามาดูและใช้งานได้ โดยในระบบนี้ ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ไม่มีใครมีอำนาจพิเศษไปกว่าใคร อีกทั้งใครก็สามารถดู transaction ของทุกคนได้
ความเป็น Permissionless นั้นเรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นของเทคโนโลยีบล็อคเชนเลยทีเดียว แต่ถ้าเรามามองจากมุมขององค์กร Enterprise มันมีปัญหาด้านความปลอดภัย เพราะเค้าไม่ต้องการให้ทุกคนเข้ามาเห็นข้อมูล transaction เค้าได้ พูดง่ายๆว่าเขาต้องการลิมิตให้แค่คนที่เกี่ยวข้องสามารถใช้งานได้เท่านั้น (ในที่นี้ทุก node จะต้องแสดงตัวตนว่าเป็นใคร และระบบจะตัดสินว่าจะให้ Node เข้ามามีสิทธิในระบบไหมและขนาดไหน)
ดังนั้นไม่แปลกเลยที่ EdenChain จึงเลือกที่จะใช้ Permissioned Blockchain เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของ Enterprise โดยเฉพาะต่างจากโปรเจคบล็อคเชนอื่นๆ
PoET Consensus
Proof of Work (PoW) consensus ที่พวกเราคุ้นเคยกันนั้นจริงๆแล้วก็คือลอตเตอรี่ชนิดหนึ่ง ที่ระบบจะแรนด้อมสุ่มเลือกคนโดยใช้วิธีว่า ใครแก้ Puzzle ได้ก่อนจะได้มาสร้างบล็อคถัดไปใช่ไหมละครับ
ซึ่ง Proof of Elapsed Time นั้นก็ไม่ต่างกันในเรื่องการสุ่ม แต่แทนที่จะแก้ Puzzle ระบบจะสุ่มเวลามาให้ทุกๆ Node แทน แล้ว Node ไหนนับถอยหลัง แล้วเวลากลายเป็น 0 ก่อน ก็จะได้มาเป็นคน confirm transaction และสร้างบล็อคถัดไปนั้นเอง ทำแบบนี้ก็ไม่ต้องมานั่งแปลืองพลังงานแบบ PoW และไม่มีช้าแบบนั้นแล้วใช่ไหมละครับ
**EdenChain ได้บอกคร่าวๆว่าจะมี Mastnode ด้วย ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมน่าจะมาใน Q3 นะครับ
ทีนี้เราอาจจะสงสัยว่า แล้วงี้ Node มันไปแอบตั้งเวลารอของตัวเองให้ต่ำๆ จะได้ชนะคนอื่นก็ได้นิ ในที่นี้มันทำไม่ได้ครับ เพราะว่าอะไรไปดูกันครับ
Software Guard Extensions (SGX)
PoET นั้นถูกสร้างโดยบริษัท Intel ซึ่งแน่นอนว่ามันจะใช้ได้กับ CPU ของมันที่มีฟีเจอร์ที่เรียกว่า Software Guard Extensions หรือ SGX
โดยที่ SGX นั้นจะทำให้เราสามารถรันสิ่งที่เรียกว่า Trusted code ได้ พูดได้ว่าโค้ดที่รันจาก SGX นี้จะเชื่อใจได้นั้นเองเพราะว่า Application จากส่วนอื่นไม่ได้สามารถเข้ามาแก้ไขโค้ดหรือแก้ไขข้อมูลที่อยู่ในโซนพิเศษนี้ได้
สิ่งนี้ทำให้เราสามารถเชื่อใจได้ว่าทุก Node นั้นไม่สามารถแก้โค้ดไปแอบตั้งเวลาอะไรเองได้และจะทำให้การเลือก Node ที่จะมาสร้างบล็อคใหม่นั้นแฟร์กันทุกครั้งนั้นเอง
ทำไมมันถึงสำคัญ? จุดหนึ่งที่องค์กรต่างๆไม่กล้านำบล็อคเชนมาใช้ก็เพราะเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยนี่แหละครับ การที่จะแปลงทรัพย์สินเป็นเหรียญหรือการเก็บข้อมูลต่างๆไว้บนบล็อคเชนนั้นเป็นไอเดียที่ดี เช่น ที่ดิน หุ้น พลังงาน งานลิขสิทธิ์ ไอเทมในเกม คะแนนสะสม ประกัน รถยนต์ และอื่นๆอีกมาก
แต่มันก็เสี่ยงมากใช่ไหมหละครับ ดังนั้น EdenChain จึงเลือกใช้ SGX ที่เป็น Hardware solution มาช่วยปกป้องทั้งข้อมูลและโค้ดโปรแกรมอีกด้วย
Solidity / EVM
เราปฎิเสธไม่ได้เลยว่าภาษาที่ฮิตที่สุดในตอนนี้สำหรับการเขียน Smart Contract คือ Solidity เนื่องจากมันเป็นภาษาที่ Ethereum Virtual Machine (EVM) ใช้นั้นเอง
การที่ EdenChain ซัพพอร์ตภาษานี้ทำให้การหา Developer ที่เขียน Smart Contract บน ETH เป็นอยู่แล้วมาเขียนบน EdenChain ได้ทันที และที่สำคัญที่สุด Developer ที่มี dApps อยู่แล้วยังสามารถย้ายโค้ดมารันบน EdenChain ได้เลยอีกด้วยโดยไม่ต้องเปลี่ยนอะไรมาก
ผลก็คือ Solidity จะช่วยให้ EdenChain ถูก adoption นำไปใช้ในวงกว้างได้เมื่อเทียบกับโปรเจคที่ใช้ภาษาอื่น
Namespace
การใช้ Namespace ทำให้เราสามารถกรุ้ป transactions ที่เกี่ยวข้องกันได้ โดย EdenChain นั้นบังคับให้ทุก transaction จะต้องมีแท็ก Namespace ซึ่งแต่ละบริษัทสามารถตั้ง Namespace เป็นของตัวเองเพื่อกรุ้ป transactions ที่เกี่ยวข้องได้
ตัวอย่างเช่น บริษัทแรกทำเกม ตั้ง Namespace ว่า “GAME” อีกบริษัททำร้านอาหาร ตั้ง Namespace ว่า “FOOD” ทีนี้ transactions ของทั้งสองบริษัทไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เราจึงสามารถให้ Node ตรวจสอบและประมวลผล transactions ในกลุ่ม GAME และ FOOD ไปพร้อมๆกันได้โดยไม่มีปัญหา ไม่ต้องห่วงเรื่องความต่อเนื่องของข้อมูลเหมือนกับบล็อคเชนอื่น (นี่เป็นผลให้บล็อคเชนอย่าง Bitcoin หรือ Ethereum ต้อง process transactions ทีละอัน)
**เราสามารถสร้าง Namespace กี่อันก็ได้ไม่มีจำกัด ตราบใดที่ชื่อไม่ซ้ำกัน ทำให้ทางทฤษฏีแล้วมันสามารถ scale จำนวน transactions ไปสูงเท่าไหร่ก็ได้ (ถ้ามี Node รองรับเพียงพอ)
E-Bridge
E-Bridge นั้นเรียกได้ว่าเป็นแก่นหลักของ Bridge Layer เลยทีเดียว
โดยปกติแล้ว เพื่อนๆอาจจะทราบว่าการเอาข้อมูลในบล็อคเชนมาเป็น input ให้กับ Smart Contract นั้นเป็นเรื่องง่าย เช่นเราโอน ETH ไปให้ ETH address ของ ICO แล้วเราจะได้เหรียญ Token กลับมาอัตโนมัติ
แต่ถ้าเราต้องการให้ input นั้นมาจากโลกภายนอกละ เช่นถ้าเราเปิดทำนายว่า ถ้าหุ้นแอปเปิ้ลราคาขึ้น 5% ตามที่คนกลุ่มนึงทำนาย ให้โอน ETH ให้ผู้ชนะ ซึ่งโดยปกติแล้วเราต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า Oracle ในการ feed ข้อมูลพวกนี้เข้ามา (โปรเจคที่ทำระบบ Oracle ให้ ETH อยู่ก็มี Chainlink เป็นต้น)
แต่เราจะเชื่อใจได้ไงว่าข้อมูลราคาหุ้นนั้นถูกต้อง เราจะมั่นใจได้ยังไงว่าไม่มีคนแอบปรับเปลี่ยนข้อมูลก่อนที่จะเข้าไปถึง Smart Contract ของเรา
EdenChain จึงมีระบบ E-Bridge ที่ทำงานร่วมกับ SGX เพื่อเพิ่มปลอดภัยในการป้อนข้อมูลนี้ อีกทั้งระบบยังจะรับข้อมูลจากหลายแห่งแล้วเอามาเปรียบเทียบกันก่อนที่จะรัน Smart Contract อีกด้วย
สรุป
ข้อดี
- Permissioned Blockchain เหมาะกับ Enterprise มากกว่า Permissionless Blockchain ทำให้ EdenChain ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้ได้ดี อีกทั้งคำว่า Enterprise นั้นไม่ได้หมายถึงบริษัทใหญ่ๆอย่างเดียว มันหมายถึงบริษัท Startup และบริษัททุกขนาดที่สนใจใช้บล็อคเชนอีกด้วย
- Hyperledger มีบริษัทมากกว่า 200 รายใช้แล้วนั้นให้การซัพพอร์ต PoET consensus ดังนั้นเรื่อง Adoption ไม่น่าใช่ปัญหา
- ชิพของ Intel เป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วไปสามารถเข้ามาเป็น Node ได้ โดยไม่ต้องลงทุนซื้อการ์ดจอแพงๆหรือ ASIC
- มีเพียงไม่กี่โปรเจคที่นำ Intel SGX มาใช้ ดังนั้น EdenChain ถือว่าได้เปรียบในระดับนึงเลยทีเดียว (อีกโปรเจคที่คอยน์แมนทราบคือ Alphapoint)
- การใช้ Solidity / EVM ทำให้ adoption กันง่ายขึ้น
- EdenChain มี Masternode ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งฝั่งนักลงทุน ICO และนักขุดสาย passive income ให้ความสนใจเป็นพิเศษ
- ทีมงานและที่ปรึกษามีทั้งความสามารถและชื่อเสียงในวงการ
- Partner ค่อนข้างเพรียบพร้อม
- Governance Body ของ EdenChain นั้นจะรันด้วย Community ในอนาคต (คนที่มีส่วนร่วมในระบบเช่น ผู้ถือเหรียญ คนทำ Node นักพัฒนาและ Eden foundation จะมาช่วยกันบริหารระบบ)
ข้อเสีย
- กว่าจะได้เหรียญครบต้องใช้เวลา 5 เดือน
- Mainnet ต้องรอถึง Q4 2018 (จริงๆ Roadmap มัน Q1 2019 แต่เหมือนจะเสร็จเร็วขึ้น)
- มีคู่แข่งในตลาดเกาหลีที่มีพาร์ทเนอร์โหดๆอย่าง ICON
- แม้ว่าบริษัทมีเป้าหมายที่จะขยายไปทั่วโลก แต่ด้วยความที่เกิดมาเป็นแบรนด์เกาหลีอาจจะทำให้บริษัทต่างชาติไม่กล้าเข้าไปทดลองใช้ (ปัญหาในช่วงแรก)
- การบังคับใช้ Hardware ของ Intel ใน PoET consensus เป็นการผูกขาดทางตลาด และทำให้เราต้องเชื่อใจ Intel อย่างเลี่ยงไม่ได้
- ชิพ Intel ที่รองรับ SGX ยังมีอยู่ไม่มากในปัจจุบัน และอาจจะพบอุปสรรคถ้าจะไปเจาะประเทศที่ไม่สนับสนุนชิพ Intel (เช่น จีน)
- การตั้ง Node หรือ Masternode นั้นยังต้องขออนุญาติจาก Governance Body (คาดว่าจะเป็นทางบริษัท Eden ในช่วงแรก) แปลว่าคนทั่วไปอาจไม่ได้ทำ Node กันง่ายๆ หรืออาจจะต้องผ่าน Authorised Pool
- การสร้างแอปบน EdenChain ก็เช่นกัน Governance Body ต้องอนุมัติแอปจะขึ้นไปอยู่บน EdenChain ได้
ระยะสั้น
EdenChain นั้นถือว่าเป็นโปรเจค Infra ที่โปรไฟล์ดีจากเกาหลีอีกตัว และด้วย Hard cap ที่ถือว่าต่ำสำหรับโปรเจคประเภทนี้ ทำให้ในระยะสั้นนั้นไม่น่าจะขาดทุน โดยเฉพาะถ้าคนเริ่มเอาไปเทียบกับโปรเจค Infra อื่นๆ
อย่างไรก็ตาม เหรียญมันจะถูกปลดล็อค 20% ทุกๆเดือนจนครบ 5 เดือน สิ่งนี้อาจมีผลให้ราคาไม่ขึ้นก็ได้เนื่องจาก Market cap ไม่ชัดเจน แต่ในทางกลับกัน คนก็อาจมองว่า Market cap เริ่มต้นมันดูต่ำ คนขายน้อย (เพราะโดนล็อคอยู่) แต่คนซื้อเยอะ ทำให้ราคาพุ่งได้เช่นกัน
ระยะยาว
คอยน์แมนเชื่อว่า EdenChain มีสิทธิที่จะมาเป็นผู้นำในตลาดบล็อคเชนสำหรับ Enterprise เนื่องจากการออกแบบระบบที่ลงตัวและครอบคลุมความต้องการของ Enterprise ทั้งความเร็ว ความปลอดภัย ประหยัดพลังงาน อย่างที่กล่าวไปในบทความนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ PoET, SGX, Hyperledger, Solidity, Namespace, E-Bridge เป็นต้น
เมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด Enterprise ปัจจุบันที่เน้นพาร์ทเนอร์กับบริษัทต่างๆ ส่วนตัวแล้วคอยน์แมนคิดว่าระบบของโปรเจคเหล่านั้นยังออกแบบมาสู้กับ EdenChain ไม่ได้ครับ
อย่างไรก็ตาม ไอเดียดี ทีมดี ก็ไม่ได้แปลว่าจะทำได้จริงนะครับ เราก็ต้องคอยดูความคืบหน้าของโปรเจคอยู่เรื่อยๆ กว่า Mainnet จะออกมาช่วง Q4 2018 เมื่อถึงตอนนั้นอาจมีคู่แข่งในตลาดนี้มากขึ้นแล้วก็เป็นได้ครับ
DYOR (Do Your Own Research) หรือค้นหาข้อมูลด้วยตนเองเสมอ แล้วเอามาเปรียบเทียบก่อนที่จะลงทุนอะไรทุกครั้งนะครับ
ไม่ควรซื้อตามใครโดยที่ไม่เชคทั้งสิ้น และที่สำคัญ อย่าลงเงินมากกว่าที่ตัวเองจะเสียได้นะครับ
ติดตามบทความใหม่ๆได้ทางเพจคอยน์แมนครับ