วิเคราะห์เหรียญ

Bitcoin ต้องหนาว? รู้จัก Mimblewimble และเหรียญ Grin & Beam

Mimblewimble คืออะไร?

Mimblewimble (มิมเบิ้ลวิมเบิ้ล) เป็น Protocol แบบใหม่ ซึ่งมีไว้สำหรับสร้าง Blockchain (เหมือนกับ Bitcoin นั่นเอง)

เป้าหมายหลักของ Blockchain ที่ใช้ Mimblewimble Protocol คือการสร้างทางเลือกใหม่สำหรับคนที่ต้องการมีสกุลเงินและทรัพย์สิน “ที่มีความเป็นส่วนตัวหรือ Privacy สูง” และยังสามารถใช้กันในวงกว้างได้

Blockchain และเหรียญบน Mimblewimble นั้น

  • ยึดตัวตนของ Bitcoin เป็นหลัก ไม่เน้นความแฟนซี เน้นความมั่นคง
  • ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาของ Bitcoin เพื่อเป็น Digital Asset แห่งอนาคตที่คนนำมาใช้ได้จริงๆ
  • เน้น Community หรือรณรงค์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมแบบแฟร์ๆมากที่สุด
  • เป็นโอกาสใหม่สำหรับนักขุดที่จะเข้ามามีส่วนตัวตอนเหรียญยังพึ่งเริ่มต้น

ต้นกำเนิด

ประวัติของ Mimblewimble Protol นั้นมีที่มาที่น่าสนใจ แน่นอนว่าชื่อมันมาจาก Harry Potter  ซึ่งตัว Whitepaper นั้นถูกเปิดตัวมาในปี 2016 จากบุคคลนิรนามที่ใช้นามแฝงว่า Tom Elvis Jedusor (เป็นชื่อฝรั่งเศษของ Voldemort จาก Harry Potter นั่นเอง)

และไม่นานหลังจาก Whitepaper เปิดตัวออกมาไม่กี่เดือน บุคคลนิรนามคนที่สองที่ใช้ชื่อว่า Ignotus Peverell (คนที่เป็นเจ้าของผ้าคลุมล่องหนคนแรกใน Harry Potter) ได้นำมาสร้างโปรเจคที่ชื่อว่า Grin นั่นเอง

ทำไมต้อง Mimblewimble?

ทุกครั้งที่เราใช้งาน Bitcoin จะมีสิ่งสามสิ่งที่เรากังวลในด้าน Privacy ถูกเปิดเผย นั้นก็คือ

  1. Address คนโอน
  2. Address คนรับ
  3. Transaction จำนวนเงินที่โอน

แต่เราก็มีเหรียญอย่างเช่น Monero, Zcash ที่เข้ามาแก้ปัญหาด้านนี้ใช่ไหมครับ แต่ทาง Mimblewimble เนี่ยก็บอกว่าของเค้าดีกว่า (ก็แน่หละ) เดี๋ยวเรามาดูนะครับว่ามันมีอะไรน่าสนใจบ้าง

จุดเด่นของ Mimblewimble Protocol

ถ้าอ่านตามสเปคของ Mimblewimble แล้ว มันใช้

  • Elliptic-curve cryptography (key จะเล็กกว่าพวก cryptography แขนงอื่นๆ)
  • Confidential transactions (สามารถคอนเฟิร์มธุรกรรมได้โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูล)
  • CoinJoins
  • Dandelion

แต่มาดูภาษาบ้านๆกันดีกว่าว่ามันดียังไงครับ

Mimblewimble ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้เลย

ตามนั้นเลยครับ ถ้าเราดูใน Block Explorer ของมัน มันจะ

  • ไม่มี Address คนส่งเก็บบน Blockchain
  • ไม่มี Address คนรับเก็บบน Blockchain
  • ไม่มี Transaction เก็บบน Blockchain

ซึ่งถ้าเราไปดูใน Block Explorer เราจะเห็นได้ว่ามันไม่ได้โชว์อะไรจริงๆ

 **หลายคนอาจจะสงสัยว่าถ้ามันไม่โชว์ข้อมูลพวกนี้ จะรู้ได้ยังไงว่าไม่มีใครเสกเหรียญขึ้นมาเพิ่ม? หลักการของมันคือ มันสามารถเช็คได้ว่าจำนวนเงินเข้ากับออกนั้นเท่ากันทั้งสองฝั่ง (เงินเข้าลบเงินออกจะเท่ากับ 0 เสมอ) หากไม่ใช่ แปลว่ามีการสร้างเหรียญเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

Mimblewimble สเกลตามจำนวนผู้ใช้ ไม่ใช่จำนวนธุรกรรม

ปกติแล้วเราจะเข้าใจว่า ยิ่งจำนวน Transaction เยอะ พื้นที่เก็บไฟล์ Block ก็จะใหญ่ตาม (เพราะต้องสะสม Transaction Blockchain ตั้งแต่วันแรกยันปัจจุบัน) กลับกัน Mimblewimble ไม่ได้เก็บ Transaction แต่แค่เก็บสถานะว่าตอนนี้ใครถือเหรียญเท่าไหร่ โดยการใช้ UTXO หรือ Unspent transaction output (คือเงินที่ยังไม่ถูกโอนต่อไป) ดังนั้นยิ่งมีผู้ใช้เยอะ จำนวน UTXO ที่ต้องบันทึกไว้ใน Block ก็เยอะเช่นกัน

ประหยัดพื้นที่ = มีความ decentralization มากขึ้น

พอจำดราม่าขยายขนาด Block ของ Bitcoin กันได้ไหมครับ นั่นเป็นจุดกำเนิด Hard fork Bitcoin Cash เลยทีเดียว เนื่องจากกลุ่ม Bitcoin Core นั้นเห็นว่าการขยาย Block ไม่ได้แก้ปัญหาในระยะยาว มันจะทำให้ database ของ Bitcoin กินเนื้อที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

ทำให้คนที่จะมาเป็น Node และ Miner นั้นลดลง (เนื่องจากต้องซื้อคอมที่มีพื้นที่ความจำสูงขึ้นมาก) ผลก็คือเกิดการ Centralization ขึ้น Mimblewimble นั้นเนื่องจากไม่ต้องบันทึกข้อมูล transaction และ address ทำให้มันใช้เนื้อที่เพียง 1 ใน 10 ของ Bitcoin Blocckhain เท่านั้น แปลว่าคนมาเป็น Node ก็ง่าย และมีความ Decentralization มากขึ้นนั่นเอง

การขุดจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง?

ถ้าเราลองนึกย้อนกลับไปสมัยที่การขุด Bitcoin ยังรุ่งเรืองกันอยู่ เราเห็นได้ว่ากลุ่มคนขุดแรกๆนั้นก็ได้กำไรกันมหาศาล (ถ้าเก็บเหรียญไว้) และได้เปรียบนักขุดหน้าใหม่อีกมากเพราะต้นทุนต่ำกว่า ช่วงที่การขุดนั้นฮิตที่สุด ตลาดก็เสร็จกลุ่มนายทุนที่กว้านซื้อเครื่องขุดไปเสียแล้ว

บางคนจึงเชื่อว่า Mimblewimble นั้นจะทำให้การขุดกลับมาฮิตอีกครั้ง โดยครั้งนี้ พวกเราคนทั่วไปจะมีสิทธิได้เข้าร่วมมากขึ้นหากต้องการ ในส่วนของ Mimblewimble นั้นจะใช้ PoW หรือ Proof of Work ที่เป็น Algo เฉพาะของมัน (ดัดแปลงมาจาก Equihash ที่ใช้ขุดพวก Zcash) แต่แม้ว่าจะดัดแปลงมาจาก Algo เดียวกัน Grin กับ Beam ก็ยังมีการขุดที่ต่างกันครับ

พบกับ Grin และ Beam

สำหรับคนที่สนใจ Mimblewimble ตอนนี้เรามีอยู่ 2 เหรียญให้เลือกที่ใช้งานได้แล้ว ซึ่งหลายคนอาจสับสนว่ามันต่างกันยังไง สรุปง่ายๆก็คือทีมงานทั้งคู่เชื่อมันใน Protocol เหมือนกัน แต่มีความคิดในด้าน Economic ของเหรียญ และรูปแบบการทำงานต่างกัน จึงแยกกันทำคนละเหรียญ ความแตกต่างหลักๆก็คือ

สรุป

กระแสของ Mimblewimble นั้นน่าสนใจ เนื่องจากมันมีกลิ่นอายคล้ายกับ Bitcoin ในยุคแรกเริ่ม และมันเป็นความหวังใหม่หรือโอกาสสำหรับคนที่พลาด Bitcoin ในยุคก่อนจะดังอีกครั้ง  

ดังนั้นเหล่าผู้กล้าตาย ทั้งนักลงทุน ทั้งนักขุด นี่อาจจะเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าร่วม แต่เราต้องเข้าใจถึงความเสี่ยงที่มหาศาลเช่นกัน

ไว้บทความหน้าคอยน์แมนจะมาต่อถึงการวิเคราะห์ราคามูลค่าและตลาดของทั้งสองเหรียญนะครับ  

 

ติดตามบทความใหม่ๆได้ทางเพจคอยน์แมนครับ

https://www.facebook.com/coinmanth/

หรือที่ Telegram Channel และ LINE@ ครับ