ปัญหาหลักบนโลก Blockchain คือการเชื่อถือข้อมูลจากภายนอก
Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่คนเรียกกันว่าจะมาปฏิวัติตัวกลางต่างๆได้ ด้วยระบบที่รันได้ด้วยตนเอง ระบบที่เราเชื่อ Code หรือโปรแกรมมากกว่าคนจริงๆ ด้วยความเชื่อตรงนี้ มีนักพัฒนาได้สร้าง Decentralized Applications (dApps) ขึ้นมามากมาย โดยบอกว่า Smart Contract นั้นจะรัน Logic ระบบให้เราอย่างซื่อตรง ตาม Code ที่เราเขียน เช่น
- แอป Trading ทายราคา BTC จะถึง 3แสนบาทภายในพรุ่งนี้ไหม ใครทายถูกจะได้เงินไป
- แอป Escrow ในการโอนเงิน ถ้าเงินบาทถูกโอนเข้าธนาคารแล้ว หรือพัสดุส่งถึงมือคนสั่งแล้ว ให้โอน ETH ไปยังอีกฝ่าย
- แอปทายผลบอล ใครทายถูกได้รางวัล
- แอปทายล็อตตอรี่ในอเมริกา ทำให้คนทั่วโลกเล่นได้ โดยยึดเลขรางวัลจากที่นั่น
- MakerDAO แอปปล่อยกู้ที่เราเอา ETH มาค้ำมูลค่าและจะได้ DAI stable coin ที่มูลค่า $1 ต่อเหรียญกลับไป ถ้าเราไม่คืนเงินตามกำหนดหรือ ETH ราคาเริ่มตกจนจะต่ำกว่าเงินที่เรากู้ไป ระบบจะเทขาย ETH ของเราทิ้งเพื่อเอามาทดแทน
ซึ่ง dApp เหล่านี้มีสิ่งเหมือนกันครับ คือต้องพึ่งข้อมูลนอก Blockchain หรือข้อมูลจากโลกจริง ไม่ว่าจะเป็นราคา BTC/THB ข้อมูลการโอนเงินของธนาคาร ผลบอล ผลล็อตตอรี่ ราคา ETH/USD และ dApp ส่วนมากที่เราคาดหวังให้มีการใช้จริงบนโลกจะต้องใช้ Real-World Data หรือข้อมูลจากโลกจริงทั้งนั้นครับ
เราจะเชื่อถือ Real-World Data เหล่านี้ได้อย่างไร?
แต่มันไม่ง่ายอย่างนั้นนะสิ บางคนอาจจะสังเกตุเห็นจุดบอดตรงนี้แล้วใช่ไหมครับ จุดบอดที่ว่านี้ก็คือ ราคา BTC นั่นเอง Smart Contract มันจะรู้ได้อย่างไรว่าราคา BTC ตอนนี้เท่ากับกี่บาท? ซึ่งปกติแล้วเราก็คงไปดึงข้อมูลราคาจากซักเว็ปใช่ไหมครับ ซึ่งนั่นอาจจะโอเคกับแอปปกติ แต่สำหรับ dApp ที่เราต้องการให้มันรันได้ด้วยตัวเอง ที่เราอ้างว่ามันน่าเชื่อถือโกงไม่ได้ เราจะยังไปยึดกับราคาบนเว็ปใดซักเว็ปนึงได้ไหม?
คำตอบก็คือไม่ได้ครับ เพราะถ้ามีคงโจมตีเว็ปนั้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงราคาระหว่างทาง ผู้ชนะในการพนันราคา BTC ครั้งนี้ก็เปลี่ยนไปได้เลย
แล้วลองคิดดูสิครับ ถ้าเราต้องการให้ dApp นั้นมาแทนตัวกลางที่ทำฟังค์ชั่นด้านการเงินอย่างธนาคาร เราต้องมั่นใจขนาดไหนว่าข้อมูลที่เราดึงเข้ามาใช้กับ Smart Contract เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้จริงๆ เพราะถ้าข้อมูลนั้นผิดพลาด ระบบการเงินนั้นก็มีสิทธิพังทลายได้เลยทีเดียว ตัวอย่างเช่น
- MakerDAO ถ้ามีคนสามารถไปแก้ Price feed ราคา ETH ได้แล้วปรับให้เหลือ $50 ทีนี้จะเกิดการเทขาย ETH ทั้งระบบ การปล่อยกู้ที่เคยมีมาพังไปเลยก็เป็นได้
- Lottery หรือการที่ตัวเลขล็อตตอรี่ผิด ระบบก็จะให้รางวัลกับผู้ชนะผิดคน และหมดความน่าเชื่อถือไปเลยทันที
สรุปได้ว่า ถ้าเราเชื่อถือข้อมูลที่มาจาก Centralized source มาใช้กับ dApp มันก็ผิดกับหลักการที่เราคิดทำ dApp มาตั้งแต่แรกใช่ไหมหละครับ
รู้จักกับ Band Protocol ระบบที่จะมาเชื่อม Real-World Data กับ Blockchain
Data Layer สำหรับ Web3
เราจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก Internet อีกครั้ง และนั่นคือการมาของ Web3 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากโลกที่ Centralized (Web2) ไปสู่ Decentralized (Web3) อย่างที่เรารู้กันว่า Blockchain นั้นจะเป็นหนึ่งในตัวผลักดันให้เกิด Web3 โดยมีองค์ประกอบกระจายศูนย์เช่น
- การทำธุรกรรมแบบ P2P
- Hosting ที่คนตั้งกันเอง ใช้กันเองไม่ต้องพึ่งบริษัท Hosting ใหญ่ๆ
- เก็บไฟล์แบบกระจายศูนย์ ที่ทุกๆคนช่วยกันเก็บกระไฟล์กันไป
- การรันแอปแบบกระจายศูนย์ อย่างเช่น Smart Contract ที่รันอยู่บนคอมพิวเตอร์ที่กระจายอยู่ทั่วโลก
ซึ่งเหมือนเรากำลังจะมีครบถ้วน แต่จริงๆเราก็ยังขาด Layer สำคัญอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ Data Layer นั่นเอง Web3 นั้นจะไม่สามารถรันได้อย่างสมบูรณ์และถูกต้องเลย
ถ้าข้อมูลที่ถูกส่งมาจากโลกจริงนั้นผิดพลาด หรือถ้าเราคิดจะไปใช้ Data ที่มาจากบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่ Centralized มันก็ผิดหลักที่เราต้องการทำ Web3 แต่แรก ดังนั้นการนำมาซึ่ง Data ที่เชื่อถือได้ ที่ Decentralized นั้นสำคัญอย่างมากกับ Web3
Band Protocol คือ Decentralized Oracle สำหรับ dApp
Oracle ในด้าน Blockchain นั้นคือเอเจ้นท์ที่จะตรวจสอบข้อมูลและนำข้อมูลนั้นเข้าไปใช้ใน Blockchain หรือ Smart Contract ซึ่งมาถึงตรงนี้เราก็คงเห็นถึงปัญหาของการที่ Oracle นั้น Centralized กันแล้ว
Band Protocol จึงเข้ามาแก้ปัญหานี้โดยการสร้าง Decentralized Oracle ช่วยให้ dApp ที่แตะกับข้อมูลในโลกจริงเกือบทุกชนิดสามารถเชื่อถือข้อมูลนั้นได้ และผลก็คือ Web3 จะทำงานได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น ความสามารถของ Band Protocol คร่าวๆมีดังนี้:
- ทำให้ dApp สามารถเข้าถึง Real-World Data ที่ได้อย่างสบายใจ จากฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือในแบบ Decentralized
- ใช้หลักการ Stake โดยให้คนทั่วไปสามารถนำเหรียญ Band มาค้ำประกันในการคัดกรองข้อมูล ถ้าข้อมูลถูกต้องก็ได้เงิน หากข้อมูลผิดหรือเราไม่ซื่อสัตย์ก็จะโดนยึดเงินไป
- สามารถจัดการกับข้อมูลที่ซับซ้อน และตัดสินด้วยคอมพิวเตอร์ไม่ได้ (subjective data) เช่นการคัดกรองข่าวสารที่น่าเชื่อถือ (นึกภาพเว็ปที่เปิดให้ทุกคนช่วยกันเช็คได้ว่าข้อมูลข่าวนั้นจริงไหม ต้องตัดสินโดยผู้คนจริงๆ)
ทำไม Band Protocol ถึงน่าสนใจ?
มาถึงตรงนี้ เพื่อนๆน่าจะพอเห็นถึงความจำเป็นและศักยภาพของ Band Protocol กันไปคร่าวๆแล้ว ทีนี้เรามาดูจุดเด่นกันบ้างดีกว่าครับ ว่าทำไมคอยน์แมนถึงให้ความสนใจโปรเจคนี้ ทั้งที่มีโปรเจคใหม่ๆมากมาย
คู่แข่งน้อย ไม่น่าเบื่อ และมีพื้นที่เติบโตอีกมากในตลาด
- ตลาด Decentralized Oracle ถือว่าเป็นตลาดที่ไม่ค่อยมีคู่แข่ง มีแค่ Chainlink ตัวเดียวที่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง กลับกัน พวก dApp นั้นจำเป็นต้องใช้มากๆถึงขั้นโปรเจคส่วนมากถามหากันเลย
- เทียบกับมูลค่า market cap ของ Chainlink ซึ่งล่าสุดทะลุ $1bn ไปแล้ว (37x จาก ICO) แปลว่า Band นั้นมีมูลค่าให้เทียบอย่างชัดเจน ซึ่งในตลาด Crypto คนชอบเทียบคู่แข่ง ว่ามันมีสิทธิไปได้ขนาดนั้น โดยเฉพาะสำหรับคนที่พลาด Chainlink ก็จะมาหวังซื้อตัวที่คล้ายกันนั่นเอง (เท่าที่ทราบมา Band จะเปิดตัวด้วย market cap ประมาณ $10m ที่น้อยกว่ามาก ถ้าไปแค่ครึ่งเดียวของ Chainlink ผลตอบแทนก็ประมาณ 50x แล้ว)
- Band Protocol กับ Chainlink ถึงแม้จะเป็นคู่แข่งกันในแง่ของ product แต่ว่าในแง่ของการใช้งานแล้ว Band Protocol กับ Chainlink กลับส่งเสริมกันและกัน เนื่องจาก dApp ต่างๆไม่ควรที่จะใช้ oracle service จากเจ้าใดเจ้าหนึ่งอยู่แล้ว ควรใช้ทั้งคู่เพื่อยืนยันว่าข้อมูลนั้นตรงกันด้วยซ้ำ เหตุผลคือถ้า service provider มีปัญหาเท่ากับว่าตัว dApp จะใช้งานไม่ได้เลยทีเดียวหรือทำให้เกิดการรัน smart contract ที่ผิดพลาดได้ (เหมือนกับการรับข่าว เราไม่ควรรับข่าวจากสำนักข่าวเดียว)
- Band Protocol มีศักยภาพที่จะ disrupt หลายๆอุตสหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ data ซึ่งขนาดของตลาดโดยรวมมูลค่าใหญ่มากๆ ยกตัวอย่างเช่น
- Data brokers: $200 billion ต่อปี
- Big Data: $56 billion ต่อปี
- Insurance: $1.2 trillion ต่อปี
- Financial market data: $28.5 billion ต่อปี
ทีมที่แข็งแกร่ง
- CEO ของ Band Protocol จบปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัย Stanford และมีประสบการณ์ทำงานใน Boston Consulting Group (BCG) บริษัทชื่อดังระดับโลก นอกจากนี้เขาถูกเลือกให้เป็นหนึ่งใน Forbes 30 under 30 in Asia ซึ่ง Justin Sun แห่ง Tron และโปรเจคชื่อดังต่างๆอย่าง Terra และ Perlin ก็เคยได้รับรางวัลนี้
- CTO ของ Band Protocol คือนักเรียนเกรด “S” (ได้คะแนน 5.0/5.0 ทั้งปริญญาตรีและโท) จาก MIT นอกจากนี้เขายังได้รับเหรียญทอง Olympics สาขา Informatics ด้วย (ซึ่ง Vitalik ได้เพียงเหรียญทองแดง)
- CPO (Chief Product Manager) มีประสบการณ์สร้าง Crypto Game ที่มีผู้เล่นกว่า 5 แสนคนมาแล้วก่อนที่จะขายไปเพื่อมาทำ Band Protocol นอกจากนี้เขายังได้รับเหรียญทองแดง Olympics สาขา Informatics ด้วย
ได้รับการลงทุนจากกลุ่มทุนชื่อดัง
- Band Protocol เป็นโปรเจคแรกด้าน Blockchain ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้เงินลงทุนจาก Sequoia หนึ่งในสิบ VC ที่ดีที่สุดของโลก ซึ่ง Sequoia ได้ลงทุนในบริษัทดังๆเช่น Apple, Google, Yahoo!, AirBnB, LinkedIn, YouTube, Instagram และ WhatsApp แม้ในโลก Crypto โปรเจคที่ Sequoia ลงก็ยังไม่มีตัวไหนขาดทุนซักตัว
- Band Protocol เป็นโปรเจคแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เงินลงทุนจาก Dunamu (เจ้าของ Upbit เว็บเทรดที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลี) ดังนั้นจึงมีสิทธิสูงมากที่จะได้ลิสบนเว็บเทรดระดับโลกนี้
- ในส่วนของพาร์ทเนอร์นั้นก็ไม่น่าเป็นห่วงเนื่องจากกลุ่มทุนนี้น่าจะสนับสนุนอยู่แล้ว อีกอย่าง อะไรที่ Chainlink พาร์ทเนอร์ไปแล้ว Band ก็เข้าไปพาร์ทเนอร์ด้วยได้เช่นกัน
ปิดท้าย
Decentralized Oracle เป็นอะไรที่คอยน์แมนคิดว่า Sexy ไม่ค่อยซ้ำใคร แถมมีโอกาสติดกระแสตลาดได้สูง แน่นอนว่าดูดีกว่าพวก Infrastructure project / Smart Contract platform ที่เรียกได้ว่าล้นตลาดแล้ว (ใครทำ Blockchain 3.0 4.0 5.0 ตัวใหม่อีกนี่ไม่ลงแล้วนะครับ 555)
ใครสนใจไปติดตามกันได้ที่:
- Telegram International: https://t.me/bandprotocol
- Telegram Thai: https://t.me/Bandprotocolthai
- Twitter: https://twitter.com/BandProtocol
- Website: https://bandprotocol.com/
- ลองเล่น: https://app.bandprotocol.com/ | https://data.bandprotocol.com/ | https://coinhatcher.com
สุดท้ายนี้ คอยน์แมนก็อดพูดไม่ได้ว่า แอบภูมิใจที่โปรเจคระดับโลกแบบนี้ มีทีมงานเป็นกลุ่มคนไทย หวังว่าทุกคนจะชอบและเอาใจช่วยให้ Band Protocol นั้นเป็นโปรเจค Unicorn โดยทีมคนไทยที่มาโค่น Omise Go ได้กันนะครับ 🙂
** ในด้านการลงทุนก็น่าสนใจไม่น้อย แน่นอนหลักๆคอยน์แมนชอบการเปรียบเทียบกับมูลค่า Chainlink 😀 แต่รายละเอียดยังไม่แน่ชัด คร่าวๆอาจจะมี IEO ในช่วง Q3 นี้ ไว้คอยติดตามกันอีกทีนะครับ ยังไงก็ต้องดู Token Metric และข้อมูลอื่นๆประกอบอีกทีในการตัดสินใจลงทุนครับ
*** สำหรับรายละเอียดทางด้านเทคนิคในการทำงานของ Band Protocol ไว้มีเวลาจะมาต่อกันนะครับ 🙂
ติดตามบทความอีกมากมายได้ที่:
หรือที่ Telegram Channel ครับ