ล่าสุด VISA, Mastercard, Stripe ก็ประกาศถอนตัวออกจากโปรเจค Libra ตามๆกันอย่างน่าใจหาย หลังจาก Paypal ถอนตัวได้ไม่นาน จนคนเริ่มสงสัยแล้วว่ามันจะรอดไหม มาดูวิเคราะห์กันครับ
จุดอ่อนของ Libra คือการที่ภาครัฐสามารถเข้ามามีอิทธิพลได้
Libra นั้นไม่สามารถเป็น Global Currency ดั่งที่เล่าไปแล้วในบทความเก่าตอน Libra เปิดตัว เนื่องจากมันขาดคุณสมบัติการต้านเซนเซอร์หรือแทรกแทรงโดยภาครัฐในทั้งด้านระบบและธุรกรรม
เหตุผลก็ไม่ใช่อื่นใด นอกจาก Libra คือเงินขององค์กร ที่หลายฝ่ายร่วมกันจัดตั้งระบบ แม้ว่ามันจะดูดีในทางทฤษฏี และดูน่าเชื่อถือระดับหนึ่งเนื่องจากองค์กรเหล่านี้มีชื่อเสียงทั้งนั้น แต่การให้องค์กรมาเป็นคนดูแลระบบ ก็มีจุดอ่อนที่ใหญ่หลวงเช่นกัน
ในเคสนี้เราเห็นได้ชัดเจนว่า องค์กรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Libra และประกาศถอนตัวแล้ว ล้วนแต่เป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ ที่ต้องให้ความสำคัญกับธุรกิจหลักของตนเองอันดับแรกอย่างแน่นอน นั่นหมายความว่า ถ้าภาครัฐเพียงขู่ว่าถ้าคุณเข้าร่วม Libra คุณอาจจะมีปัญหาหรือโดนจับตามองในธุรกิจหลักนะ แค่นั้นก็ถอยกันแล้วครับ เพราะได้ไม่คุ้มเสีย
ผลก็คือ ภาครัฐสามารถสร้างอิทธิพลกับสมาชิกองค์กรได้ไม่ยาก ทำให้ระบบการเงิน Libra นั้นไม่มีวันที่จะปลอดภัยจากการแทรกแทงของรัฐบาลได้ เพราะการที่องค์กรเหล่านี้ที่มีธุรกิจค้ำคออยู่จะดื้อกับภาครัฐนั้นเป็นไปได้ยากมาก แม้กระทั่ง Facebook เองก็ตาม
แล้ว Libra จะเกิดไหม?
ส่วนตัวคิดว่าเกิดครับ ไม่ช้าก็เร็ว สุดท้ายมันก็จะมีองค์กรที่ชั่งน้ำหนักแล้วผลประโยชน์มีมากกว่าผลเสีย หรืออาจจเป็นองค์กรในประเทศที่เปิดกว้างเรื่องนี้ก็เป็นได้
แต่แน่นอนว่า Libra ที่เกิดขึ้นมานี้ จะไม่มีคุณสมบัติของ Global Currency แน่นอน เพราะมันจะไม่
- Open เปิดให้ใครก็ได้สามารถเข้ามาใช้งานอย่างเท่าเทียมโดยไม่ต้องขออนุญาติ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ถ้าต้องมานั่ง KYC หรือขออนุญาติจากสมาคม Libra
- Borderless หรือเงินที่ไร้พรมแดน ซึ่งถ้ามันใช้ไม่ได้ทุกประเทศ โดนรัฐบาลแบนได้ มันก็ไม่ถือว่าไร้พรมแดนจริงๆ
- Censorship Resistant หรือการต่อต้านเซนเซอร์โดยภาครัฐ อันนี้ก็เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากธุรกิจย่อมมีจุดอ่อนให้รัฐบาลเข้ามามีอิทธิพลได้
หมายความว่า แม้ว่า Libra จะได้เกิดขึ้นมาจริงๆ แต่เราต้องถามตัวเองแล้วแหละครับ ว่าเราไว้ใจระบบการเงินที่ควบคุมโดยองค์กรกลุ่มนี้ได้ไหม เพราะเราก็เห็นแล้วว่า ขนาดยังทำไม่เสร็จ ภาครัฐยังมีอิทธิพล ถึงขนาดบางองค์กรโดนรัฐกดดันจนยอมถอยไปแล้ว แบบนี้จะปกป้องอธิปไตยทางการเงินของผู้ใช้ได้อย่างไร
มีผลอย่างไรต่อ Bitcoin
ดีและดีครับ อย่างที่คอยน์แมนเคยกล่าวไปในบทความเก่า ว่าการมาของ Libra นั้นมีแต่ข้อดีต่อ Bitcoin ไม่ว่ามันจะเกิดหรือไม่เกิด
- ถ้า Libra เกิด คนก็จะคุ้นเคยกับ Cryptocurrency และเข้าถึง Bitcoin ได้ง่ายขึ้น
- ถ้า Libra ไม่เกิด คนก็จะเห็นจุดอ่อนสำคัญของเงินองค์กร ที่ถูกแทรกแทรงได้ง่าย และเห็นความสำคัญของ Bitcoin มากขึ้น
อย่าลืมนะครับว่า Bitcoin
- ไม่มีบริษัทให้ฟ้อง
- ไม่มี CEO ให้จับ
- ไม่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจให้รัฐกดดัน
Bitcoin นั้นไม่ได้แข่งกับ Libra แต่แข่งกับ Fiat Currency หรือเงินรัฐ ซึ่งสุดท้ายถ้าเงินรัฐมันสูญเสียมูลค่า Libra ที่ค้ำด้วยเงินรัฐก็จะเสีย คนก็ต้องหาที่เก็บมูลค่าที่ดีกว่าอยู่ดี ซึ่ง Bitcoin จะเป็นทางเลือกที่เข้าถึงง่ายที่สุด โดยเฉพาะสำหรับ Digital Native อย่างเด็กรุ่นใหม่ เงินที่แม้แต่รัฐเองก็ไปแทรกแทรงหรือหยุดมันไม่ได้ เงินที่ให้อำนาจอธิไตยกับประชาชนอย่างแท้จริงนั่นเอง
ติดตามบทความอีกมากมายได้ที่:
https://www.facebook.com/coinmanth/
หรือที่ Telegram Channel ครับ